Unit 5

หน่วยที่ ๕

เครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุที่ใช้ในกระบวนการผลิตวีดิทัศน์

สมเจตน์  เมฆพายัพ (๒๕๔๐ : ๒๖) ได้กล่าวถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตรายการโทรทัศน์ว่าจะมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญอยู่ ๓ กลุ่ม ดังนี้

๑.  อุปกรณ์ด้านภาพ ได้แก่   กล้องวีดิโอ   เทปวีดิโอ   เครื่องบันทึกเทป-วีดิโอ  เครื่องผสมสัญญาณภาพ (Switcher) จอมอนิเตอร์ (Monitor) ฯลฯ

๒.  อุปกรณ์ด้านเสียง  ได้แก่  ไมโครโฟน   เทปบันทึกเสียง  เครื่องบันทึกเสียง  เครื่องผสมสัญญาณเสียง (Mixer) เครื่องขยายเสียง ฯลฯ

๓.  อุปกรณ์ด้านแสง  ได้แก่  โคมไฟชนิดต่าง ๆ แผ่นสะท้อนแสง (Reflect) ฯลฯ

สำหรับหน่วยเรียนนี้ จะกล่าวถึงเฉพาะอุปกรณ์ที่สำคัญ  ๆ  ดังต่อไปนี้

   กล้องวีดิโอ

กล้องวีดิโอ (Television camera)   เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวสร้างภาพให้ปรากฏเพื่อนำไปบันทึกเทปวีดิโอ  ซึ่งคุณภาพของภาพที่ได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความคมชัด ความสดใสของสีสัน หรือปริมาณของสัญญาณรบกวน ฯลฯ จะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของกล้องวีดิโอเป็นสำคัญ

 

ภาพที่ ๑   กล้องวีดิโอสำหรับถ่ายในสตูดิโอ (studio camera)

(http://www.libraprobroadcast.co.uk/ , http://www.istockphoto.com/stock-photo-8602104-cameraman-with-a-tv-studio-camera.php)

เมื่อมองจากรูปร่างภายนอก  กล้องวีดิโอจะมีคล้ายกับกล้องถ่ายภาพยนตร์ ต่างกันตรงที่ไม่มีกลักใส่ฟิล์มภาพยนตร์เท่านั้น และมีความแตกต่างในแง่ของการใช้งาน  กล้องถ่ายภาพยนตร์เมื่อถ่ายเสร็จแล้ว จะต้องนำฟิล์มจากตัวกล้องไปผ่านกระบวนการล้าง และตัดต่อ แล้วจึงนำมาฉายดูได้ แต่กล้องวีดิโอหลังจากถ่ายเสร็จแล้วสามารถนำมาดูภาพได้เลย (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2537 : 61 – 62)

   

ภาพที่ ๒  กล้องวีดิโอ และกล้องถ่ายภาพยนตร์

(www.globalmediapro.com, http://www.birnsandsawyer.com)

นอกจากนี้ ในแง่ของการผลิตผลงาน กล้องถ่ายภาพยนตร์มีข้อที่เสียเปรียบกล้องวีดิโอหลายประการ กล่าวคือ ต้องการแสงในการถ่ายทำมากกว่า   ค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการสูงกว่า  ตลอดจนการนำมาใช้มีกรรมวิธีการยุ่งยากและซับซ้อนกว่า      แต่ก็มีข้อดีตรงที่ฟิล์มภาพยนตร์สามารถสำเนาจากต้นฉบับได้จำนวนเป็นพัน ๆ ม้วน  ในขณะที่เทปวีดิโอจะสำเนาจากต้นฉบับได้น้อยกว่า  อายุการเก็บรักษาสั้นกว่า (กรมการศึกษา-นอกโรงเรียน. มปป : 1)  แต่ปัจจุบันการถ่ายทำ และบันทึกรายการโทรทัศน์ด้วยระบบดิจิตอล (Digital) ทำให้ข้อจำกัดในเรื่องนี้หมดไป

จึงอาจกล่าวได้ว่า    การสร้างภาพ (Video) นั้นจะได้คุณภาพของภาพที่ดีหรือไม่อยู่ที่การทำงานของกล้องวีดิโอ   และการทำงานของกล้องวีดิโอก็ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ภายในตัวกล้อง  นับตั้งแต่เลนส์จนถึงปลายทางสุดท้ายที่ได้ภาพวิดีโอออกมา

กล้องวีดิโอ ในปัจจุบันมีหลากหลายประเภท   และแต่ละประเภทก็มีการพัฒนาอยู่เสมอ  เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม  ทั้งด้านงบประมาณ  ลักษณะงานที่ใช้  และคุณภาพของงาน

 

 ๑.๑   ประเภทของกล้องวีดิโอและอุปกรณ์ประกอบ

เราสามารถจำแนกประเภทของกล้องวีดิโอได้หลายลักษณะ ในที่นี้จะขอแบ่งประเภทของกล้องวีดิโอออกเป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้

แบ่งตามลักษณะของอุปกรณ์รับภาพ แบ่งได้เป็น ๓ ประเภท

)   กล้องที่ใช้หลอดรับภาพ

กล้องประเภทนี้ใช้หลอดรับภาพเป็นตัวแปลงสัญญาณแสงที่ผ่านเลนส์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเราเรียกว่าสัญญาณภาพ (Video signal)

โดยทั่วไป กล้องวีดิโอที่มีคุณภาพดีจะมีหลอดรับภาพ ๓ หลอด สำหรับแม่สีทางโทรทัศน์ คือ สีแดง (Red) สีเขียว (Green)  และสีน้ำเงิน (Blue) บางทีเรียกตัวย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า RGB  โดยที่หน้าหลอดรับภาพจะมีปริซึมทำหน้าที่เป็นตัวแยกสีที่ผ่านมาจากเลนส์ออกเป็น ๓ สี ดังกล่าวข้างต้น เพื่อส่งต่อให้หลอดรับภาพต่อไป (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ๒๕๓๗ : ๖๔)

๒)   กล้องที่ไม่ใช้หลอดรับภาพ

กล้องวีดิโอที่ไม่ใช้หลอดรับภาพ จะใช้เซนเซอร์รับภาพ จะมี ๒ ประเภท คือ กล้องที่ใช้ชิพ CCD เป็นตัวรับภาพ และกล้องที่ใช้ชิพ CMOS เป็นตัวรับภาพ

เซ็นเซอร์รับภาพทำหน้าที่รับภาพมาจากเลนส์ แล้วแปลงให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า จากนั้นจึงแปลงเป็นข้อมูลดิจิตอลบันทึกลงในหน่วยความจำต่อไป ซึ่งส่วนประกอบนี้นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของภาพอย่างมาก เซ็นเซอร์รับภาพที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 แบบคือ CCD และ CMOS โดยทั่วไปแล้ว CCD(charge coupled device) จะมีส่วนประกอบซับซ้อนกว่า CMOS(complementary metal oxide semiconductor) ทำให้ราคาแพงกว่า ใช้พลังงานมากกว่า ทำให้เปลืองแบตเตอรี่กว่าเล็กน้อย แต่ก็สามารถให้ภาพที่มีคุณภาพสูงกว่า CMOS โดยเฉพาะเมื่อถ่ายในที่แสงน้อย เราจึงมักพบเห็นการใช้ CMOS อยู่ในกล้องราคาประหยัด ในขณะที่ CCD จะใช้อยู่ในกล้องที่มีความละเอียดสูง อย่างไรก็ตาม ได้มีการพัฒนา CMOS ให้มีคุณภาพสูงขึ้นจนเทียบเท่า CCD และใช้อยู่ในกล้องระดับ DSLR ซึ่งภาพที่ได้มีคุณภาพสูงมาก ดังนั้นปัจจุบันจะเลือกเซ็นเซอร์รับภาพแบบไหนก็ไม่แตกต่างกันมาก บางครั้ง CCD ก็ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า หรือในบางรุ่น CMOS ก็ให้ภาพที่สวยกว่า ขอให้ดูที่ผลของภาพที่ออกมาจะดีที่สุด

 

กล้องที่ใช้ชิพ CCD เป็นตัวรับภาพ

บริษัทโซนี่ (SONY) ได้คิดค้นทดลองพัฒนากล้องวีดิโอที่ไม่ต้องใช้หลอดรับภาพได้สำเร็จ โดยเปลี่ยนมาใช้แผ่นชิพ (Chip) ที่มีชื่อว่า ชาร์จ คับเปิล ดีไวซ์ (Charge Couple Device หรือเรียกย่อ ๆ ว่า  CCD

ต่อมาบริษัทที่ผลิตกล้องวีดิโอส่วนใหญ่ได้หันมาผลิตกล้องที่ใช้ CCD กันมากขึ้น ซึ่งกล้องที่ใช้ CCD แทนหลอดรับภาพนี้ มีข้อดีหลายประการ คือ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2533 : 96 – 97 , ณรงค์  สมพงษ์. 2535 : 285)

–   แผ่น CCD มีขนาดเล็กกว่าหลอดรับภาพมาก  ทำให้สามารถย่อขนาดของกล้องวีดิโอให้เล็กลงได้   มีน้ำหนักเบา และยังมีความไวต่อแสงมากกว่าหลอดรับภาพ

–   เมื่อเปิดไฟฟ้าเข้ากล้อง จะใช้เวลาในการเริ่มต้นทำงานน้อยกว่า

–   เมื่อถ่ายภาพไปที่ดวงไฟหรือแสงแดดจ้า ๆ ไม่มีปัญหาอาการไหม้ (Burn) ของหลอดภาพ หรือเกิดลำแสงวิ่งเป็นทางยาว (Comet tail)

CCD มีลักษณะเป็นแผ่นชิพ (Chip) ชิ้นเล็ก ๆ ที่อยู่หลังเลนส์ ทำหน้าที่รับภาพ คุณภาพของภาพวีดิโอจะดีขนาดเพียงใดขึ้นอยู่กับ ขนาดของ CCD, จำนวนแผ่น CCD และความสามารถในการผลิตจำนวน Pixel ซึ่งจำนวน CCD ที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีแบบ เดียว ( 1 x CCD) กับ 3CCD (3 x CCD)

–        1 x CCD นั้นใช้ ชิพ ชิ้นเดียวในการรับภาพ ในระบบ RGB (Red Green Blue) ซึ่งเป็นแม่สีเชิงบวกที่ใช้ในงานวิดีโอทั่วๆไป

–        3 x CCD เป็นกล้องที่ใช้ ชิพ 3 ตัวในการแบ่งรับภาพ โดย ชิพแต่ละชิ้น จะรับสีต่างกันไป 3 สี ซึ่งกล้องวีดิโอแบบ 3 x CCD จะให้คุณภาพที่ดีกว่า อยู่ในระดับออกอากาศได้ กับระดับราคาแพง ตั้งแต่เก้าหมื่นกว่าบาทจนถึงหลายแสนบาทขึ้นกับความสามารถเฉพาะตัว ส่วนกล้อง 1 x CCD นั้นคุณภาพจะลดลงบ้าง แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่เรียกว่า เทปฟอร์แมท เบต้าก็กินไม่ค่อยลงเหมือนกัน ระดับราคาก็มีตั้งแต่สองหมื่นขึ้นไปจนถึงเจ็ดแปดหมื่นบาท  (หยั่น หว่อ หยุ่น.)

กล้องที่ใช้ชิพ CMOS เป็นตัวรับภาพ

แบ่งตามลักษณะการใช้งาน (ณรงค์  สมพงษ์. ๒๕๓๕ : ๒๘๖ – ๒๘๗)

๑)   กล้องสตูดิโอ (Studio camera)

เป็นกล้องขนาดใหญ่   ใช้สำหรับบันทึกรายการโทรทัศน์เฉพาะในห้องสตูดิโอเท่านั้น    เนื่องจากมีน้ำหนักมาก  ไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย  มีอุปกรณ์รับภาพ ๓ – ๔ ชิ้น ทำให้ภาพที่ได้มีคุณภาพสูงและมีราคาแพง มีอุปกรณ์ควบคุมการซูมภาพ (Zoom) และปรับความคมชัด (Focus) ติดบนแขนหมุนกล้อง (Panning Handle)  สามารถใช้ถ่ายทำรายการโทรทัศน์เพื่อออกอากาศได้

ภาพที่ ๓   กล้องสตูดิโอ (Studio camera)

(Leonard Ahyles. 1997 : 82)

๒)   กล้องแบบเคลื่อนที่ (Portable camera)

เป็นกล้องที่ออกแบบมาเพื่อใช้ถ่ายทำนอกสถานที่ เคลื่อนย้ายง่าย ใช้ร่วมกับเครื่องเล่นเทปแบบเคลื่อนที่ (Portable VTR) คุณภาพของภาพที่บันทึกดี ใช้ถ่ายทำรายการเพื่อออกอากาศได้  สามารถใช้งานแบบแบกบนบ่าหรือวางบนขาตั้งก็ได้

กล้องประเภทนี้เหมาะสำหรับการถ่ายทำรายการข่าว สารคดี หรือละครที่ต้องไปถ่ายทำในสถานที่จริง นอกจากนี้กล้องประเภทนี้ก็ยังสามารถใช้ถ่ายในสตูดิโอได้ด้วย

ภาพที่ ๔  กล้องแบบเคลื่อนที่ (Portable camera)

 (www.globalmediapro.com)

๓)   กล้องแบบบันทึกในตัว (Camcorder)

เป็นกล้องที่ฝังเครื่องบันทึกเทปไว้ในตัวกล้อง ทำให้ไม่ต้องสะพายเครื่องบันทึกเทปวีดิโออีกเครื่องหนึ่ง สะดวกในการใช้งาน เพราะมีความคล่องตัวกว่ากล้องวีดิโอแบบอื่น และมักมีจอภาพแบบ LCD สำหรับดูภาพขณะบันทึกหรือเล่นเทป

ภาพที่ ๕  กล้องแบบบันทึกในตัว (Camcorder)

 

๔)   กล้องขนาดเล็ก (Small camera)

เป็นกล้องที่ใช้กันตามบ้านทั่วไป (Home use) บางทีเรียกว่ากล้องสำหรับมือสมัครเล่น กล้องประเภทนี้มักรวมเครื่องบันทึกเทปเข้ากับตัวกล้อง เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ราคาไม่แพง มีอุปกรณ์รับภาพเพียงชิ้นเดียว  คุณภาพของภาพที่ได้อยู่ในเกณฑ์พอใช้ แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ถ่ายทำรายการเพื่อการแพร่ภาพออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์

ภาพที่ ๖  กล้องวีดิโอขนาดเล็ก (Small camera)

(http://www.welectronics.com/camcorder)

๑.๒   หลักการทำงานและส่วนประกอบของกล้องวีดิโอ

 

หลักการทำงานของกล้องวีดิโอ

หลักการทำงานคร่าว ๆ ของกล้องวีดิโอ คือ เมื่อแสงสะท้อนจากวัตถุผ่านเลนส์เข้าไปในกล้อง      จะตกกระทบลงบนปริซึม (Prism)   ที่อยู่หน้าหลอดรับภาพในตัวกล้อง   โดยปริซึมจะแยกสีของภาพออกเป็น 3 สี คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน  แล้วส่งสีแต่ละสีไปยังหลอดรับภาพแต่ละหลอดตามสีที่กำหนดไว้   เมื่อหลอดรับภาพได้รับแสงที่เป็นสีนั้น ๆ ก็จะแปลงแสงออกมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ขั้วหลอดรับภาพ เรียกว่า สัญญาณภาพ (Video) ซึ่งปริมาณของสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จะไม่เท่ากัน มากน้อยตามปริมาณของแสง

สัญญาณภาพทั้ง 3 สีจะถูกขยายให้แรงขึ้น และถูกส่งต่อไปยังตัวผสมสัญญาณ (encoder) เพื่อผสมสัญญาณทั้ง 3 สีเข้าด้วยกัน (encode) พร้อม ๆ กับการแทรกสัญญาณระบบ ในลักษณะรูปคลื่นเข้าไปด้วยเพื่อกำหนดระบบโทรทัศน์ (PAL SECAM หรือ NTSC) ซึ่งสัญญาณที่ผสมกันเรียบร้อยแล้วนี้ จะเป็นสัญญาณที่สมบูรณ์เรียกว่า Color

Composite Video Signal หรือเรียกย่อ ๆ  ว่า CCVS   สัญญาณนี้สามารถนำไปบันทึกเทป-วีดิโอหรือส่งออกอากาศหรือส่งไปยังจอรับภาพได้เลย (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2537 : 68 – 69)     โดยหลอดรับภาพจะทำหน้าที่เปลี่ยนแสงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าผ่านสายสัญญาณไปยังเครื่องบันทึกเทปวีดิโอ

ภาพที่ 41  แผนผังการทำงานของกล้องวีดิโอ

(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2537 : 68)

ส่วนประกอบของกล้องวีดิโอ

ลักษณะโดยทั่วไปตัวกล้องจะหุ้มด้วยโลหะน้ำหนักเบา ภายในตัวกล้องประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ด้านหน้ามีเลนส์และจอมองภาพ (Viewfinder) ด้านข้างและด้านหลังมีสวิตซ์ต่าง ๆ ปุ่มปรับสัญญาณ และขั้วต่อสายสัญญาณต่าง ๆ ด้านล่างของตัวกล้องจะมีลักษณะเป็นฐานเว้าหุ้มด้วยฟองน้ำหรือยาง สำหรับประทับบนบ่าของผู้ถ่าย ปกติน้ำหนักของกล้องควรอยู่ระหว่าง ๕ – ๖ กิโลกรัม

กล้องวีดิโอมีส่วนประกอบ ๔ ส่วน ดังนี้

๑)  เลนส์ (Lens)

๒)  ตัวกล้อง (Camera Head)

๓)  จอมองภาพ (Viewfinder)

๔)  แหล่งจ่ายไฟฟ้า (Power Supply)

นอกจากส่วนประกอบทั้ง ๔ ส่วนดังกล่าวข้างต้นแล้ว กล้องวีดิโอรุ่นใหม่ มักจะรวมเครื่องบันทึกเทปเข้ากับตัวกล้องด้วย เพื่อให้สะดวกในการถ่ายทำไม่ต้องแบกอุปกรณ์ ๒ ชิ้นในการถ่ายทำแต่ละครั้ง (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2537 : 62 – 67)

๑)   เลนส์ (Lens)

เลนส์ของกล้องวีดิโอในปัจจุบันจะเป็นเลนส์ซูม (Zoom Lens) คือเลนส์ที่สามารถดึงภาพเข้ามาใกล้หรือถอยภาพออกไปไกลโดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายกล้อง ซึ่งเราเรียกวิธีการนี้ว่า “ซูม” (Zoom) เลนส์บางชนิดซูมโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้า เรียกว่า เซอร์โวซูม (Servo Zoom) และบางชนิดซูมด้วยกลไกธรรมดา (Manual Zoom)

ขนาดของเลนส์จะระบุเป็น x 10 x12 x15 ฯลฯ อ่านว่า คูณ 10 คูณ 12 คูณ 15 ซึ่งหมายถึงระยะโฟกัสที่เลนส์สามารถดึงภาพเข้ามาใกล้ได้เป็นกี่เท่าของภาพไกลสุด ดังตาราง

ภาพมุมกว้าง

ขนาดของเลนส์

ภาพมุมแคบ

(Short Focal Length)

(Lens Size)

(Long Focal Length)

10 mm

x 10

100 mm

10 mm

x 12

120 mm

10 mm

x 15

150 mm

ตารางที่ 2 ระยะโฟกัสที่เลนส์สามารถดึงภาพเข้ามาใกล้ได้เป็นกี่เท่าของภาพไกลสุด

๒)   ตัวกล้อง (Camera Head)

ตัวกล้อง โดยทั่วไปสร้างด้วยโครงโลหะเบาไร้สนิมประเภทอลูมิเนียม-หล่อ  เป็นที่บรรจุหลอดภาพ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรับภาพ คือ

–   หลอดรับภาพ (Pick-up Tube)  ทำหน้าที่รับภาพที่ผ่านจากเลนส์ โดยทั่วไป ถ้าเป็นวีดิโอแบบมืออาชีพจะมีหลอดรับภาพ 3 หลอด   โดยที่ด้านหน้าหลอดจะมีปริซึมที่เป็นผลึกแก้วทำหน้าที่แยกแม่สีทางโทรทัศน์ที่ผ่านมาจากเลนส์ออกเป็น 3 สี คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน เพื่อส่งไปยังหลอดรับภาพต่อไป          ถ้าเป็นกล้องสมัครเล่นจะมี

หลอดรับภาพเพียงหลอดเดียว และไม่มีปริซึมผลึกแก้วแยกสี ทำให้คุณภาพไม่ดีเท่ากับกล้อง 3 หลอด

ปัจจุบันได้มีการพัฒนากล้องวีดิโออีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่ากล้อง CCD โดยกล้องประเภทนี้ใช้ชาร์จ คัปเปิล ดีไวซ์ (Charge Couple Device) แทนหลอดรับภาพ

–   แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Circuits) วงจรต่าง ๆ เหล่านี้จะทำหน้าที่ขยายสัญญาณภาพที่ออกมาจากหลอดรับภาพให้สูงขึ้น ลดสัญญาณรบกวนให้น้อยลง และมีการผสมสัญญาณใหม่เข้าไปเพื่อรวมเป็นสัญญาณภาพสีที่สมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วยสัญญาณภาพสีที่รวมกันแล้วเหมือนภาพที่ถ่ายได้จริง และคลื่นสัญญาณที่สร้างระบบโทรทัศน์ ซึ่งสัญญาณนี้เองที่เรานำไปออกอากาศหรือบันทึกเทปวีดิโอเพื่อผลิตเป็นรายการออกมา

๓)   จอมองภาพ (Viewfinder)

ติดอยู่ด้านซ้ายของตัวกล้อง ใกล้กับเลนส์ ใช้สำหรับมองภาพในขณะที่ถ่ายทำ

–   ใช้เลือกและหามุมกล้อง ดูขนาดของภาพ และจัดองค์ประกอบภาพ

–   มองภาพขณะปรับความคมชัด และปรับความสว่าง

–   มองข้อมูลรายละเอียดทางเทคนิค การเลือกฟังก์ชั่น เช่น สถานะของเทปวีดิโอ ปริมาณแบตเตอรี่ที่คงเหลือ

–   มองภาพจากเครื่องบันทึกเทปในขณะที่เล่นกลับ (Play Back)

–   จอมองภาพจะแสดงภาพเป็นสีขาว-ดำ ทั้งนี้เพราะจอมีขนาดเล็กเพียง ๑.๕ นิ้ว การสร้างเป็นภาพสีทำได้ลำบาก และไม่คุ้มกับความจำเป็น

ภาพที่ ๗  จอมองภาพ (Viewfinder) ของกล้องสำหรับมือสมัครเล่น

(Sony Digital HD Video Camera Operating Guide. 2006 : 26)

ภาพที่ ๗  จอมองภาพ (Viewfinder) ของกล้องสตูดิโอ

๔)  แหล่งจ่ายไฟฟ้า (Power Supply) ถ้าเป็นการถ่ายทำนอกสถานที่จะมีแบตเตอรี่ หรือจากหม้อแปลงไฟฟ้า

ภาพที่ ๘  แบตเตอรี่ และหม้อแปลงไฟฟ้า (AC Adapter)

(Sony Digital HD Video Camera Operating Guide. 2006 : 22)

 

.๓   การติดตั้งกล้องวีดิโอและการต่อสายสัญญาณ

 

สายสัญญาณและขั้วต่อที่ใช้ในการต่ออุปกรณ์

สายสัญญาณและขั้วต่อที่ใช้ในการต่ออุปกรณ์ ระหว่างกล้องวีดิโอกับอุปกรณ์ต่าง ๆ  มีดังนี้  (วสันต์  อติศัพท์. 2533 : 67 – 69, Lofty, บริษัท. 2003 : http://www.lofty.co.th/)

๑)   คอมโพสิต (Composite Audio/Video)

เป็นสายสัญญาณที่ใช้ต่อสายสัญญาณภาพและสัญญาณเสียงหรือที่เรียกว่า สาย AV (Audio/Video)   โดยมีขั้วต่อเป็นแบบ RCA หรือ “หัวฝักบัว”บางทีจึงเรียกว่าสายอาร์ซีเอ (RCA) เป็นสายนำสัญญาณวิดีโอแบบพื้นฐานที่สุดใช้สำหรับส่งสัญญาณภาพแบบคอมโพสิต (Composite) จากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง ใช้กับวิดีโอตามบ้านทั่วไป ลักษณะของสายสัญญาณเป็นสายทองแดงธรรมดา   อาจจะมีชีลด์ (หุ้มด้วยลวดเส้นเล็ก ๆ ที่ถักเป็นไหมต่ออยู่กับสายดิน) ปกติขั้วต่อ RCA จะมีด้วยกัน ๓ สี คือสีเหลืองสำหรับสัญญาณภาพ ส่วนสีแดงและสีขาวจะใช้สำหรับสัญญาณเสียงสเตอริโอ โดยที่สีขาวจะเป็นช่องของเสียงข้างซ้ายและเป็นจุดต่อกรณีของเสียงที่เป็นระบบ Mono ส่วนสีแดงจะเป็นช่องของเสียงข้างขวา

ภาพที่  ๙ ข้อต่อแบบอาร์ซีเอ (RCA)

(http://wapedia.mobi/en/File:Composite-cables.jpg , http://www.tomshardware.com/reviews/pc-interfaces-101,1177-5.html , http://www.hdwise.com/product.php?productid=514&cat=216&page=1)

๒)   สายคอมโพเนนท์ (Component Video)

สาย Component Video ที่นิยมใช้กันแพร่หลาย เป็นสายที่ส่งผ่านสัญญาณวิดีโอซึ่งแบ่งออกเป็น 3 สัญญาณ เป็นวิธีแยกสัญญาณวิดีโอออกเพื่อลดการรบกวนซึ่งกันและกัน  สาย Component Video สามารถส่งผ่านสัญญาณได้ เช่น 480i, 480p, 576i, 576p, 1080i และ 1080p  (http://www.somkiet.com/AudioVideo/SignalCable.htm)

ภาพที่ ๑๐  สายสัญญาณแบบ Componant

(http://www.hotwirecables.com/6_FT_RCA_COMPONANT_VIDEO_CABLE_RG_59_U_p/hc09606.htm, http://www.siamget.com/buyerguide/310)

๓)   เอส วิดีโอ (S-Video)

สาย S-Video (ย่อมาจาก Separate Video) หรือบางทีเรียกว่าY/C เป็นสายสัญญาณวิดีโอแบบอนาลอกที่ใช้สำหรับส่งสัญญาณวีดิโอ (Video Data) ระหว่างเครื่องบันทึกเทปวีดิโอ หรือระหว่างกล้องวีดิโอกับเครื่องบันทึกเทปวีดิโอ  โดยแยกออกเป็น 2 สัญญาณ ได้แก่ ความสว่าง และสี (Brightness and Colour) เหมาะสำหรับใช้กับ Standard Definition Video ที่มี Bandwidth 480i หรือ 576i

ภาพที่ ๑๑  ข้อต่อแบบเอส วีดิโอ (S-Video)

(http://gear.ign.com/articles/740/740569p1.html , http://www.portcomputer.ob.tc/P9sVDO.html)

ลักษณะของสายสัญญาณเป็นสายทองแดงแบบฝอย มีชีลด์หุ้ม ภายในมีตัวนำสองเส้น ใช้สำหรับสัญญาณ Y/C หรือ S-Video ขั้วต่อเป็นแบบ Mini DIN สี่ขา (๔ Pin)  เป็นสายสัญญาณทั้งภาพและเสียง ให้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าสายแบบ RCA

๔)  สายสัญญาณ HDMI (High Definition Multimedia Interface)

เป็นทั้งสายสัญญาณภาพและเสียงระบบดิจิตอล แบบไม่มีการบีบอัดข้อมูล ไว้ในสายเส้นเดียว ใช้กับระบบ โฮมเธียเตอร์ ที่ให้ความคมชัดของภาพและเสียงที่สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่เคยมีมา

–        สายสัญญาณ HDMI ส่งสัญญาณได้ทั้งภาพและเสียง

–        สาย HDMI ส่งผ่าน Video Resolutions จาก 480i ขึ้นไปถึง 1080p และใช้ได้กับโทรทัศน์  เครื่องเล่นดีวีดี  AV Receiver  เครื่องเล่น Blu-Ray Disc  เครื่องเล่น HD-DVD  HD Cable Boxes และ HD Satellite Boxes

–        สาย HDMI ที่ได้พัฒนามาแล้วมีหลาย Versions คือ HDMI 1.0, HDMI 1.1, HDMI 1.2, HDMI 1.3 รวมทั้ง HDMI 1.3a, 1.3b และในปัจจุบัน มีสาย HDMI Version 1.4a ประกาศออกมาแล้ว (http://www.somkiet.com/AudioVideo/SignalCable.htm)

ภาพที่ ๑๒  สายสัญญาณแบบ HDMI

(http://sayuridvd.tarad.com/product.detail_0_th_2718412 , http://www.animategroup.com/asite_up/gamemag/view_info.php?n_id=686)

๕)   ยูเอ็ชเอฟ (UHF)  เป็นสายสัญญาณและขั้วต่อที่ใช้สำหรับต่อระหว่างเครื่องบันทึกเทปวีดิโอเข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์  สายสัญญาณที่ใช้เป็นสายสัญญาณโคเอเซียน 75 โอห์ม ซึ่งมักเรียกว่า สายอาร์เอฟ (RF Connector)  เป็นสายสัญญาณทั้งภาพและเสียงอยู่ด้วยกัน  การต่อสายใช้เสียบโดยตรง  ไม่มีเกลียว

ภาพที่  ๑๓ ข้อต่อแบบยูเอ็ชเอฟ (UHF)

(www.rf-connector-manufacturer.com, Stuart Dollin. 1992 : 21)

๖)   บีเอ็นซี (BNC) สายสัญญาณเป็นแบบโคเอเซียน (Coaxial) ใช้เป็นสายสัญญาณภาพ (Video Line)   ลักษณะของสายสัญญาณเป็นสายชีลด์ประเภทหนึ่งที่มีไส้ในเพียงเส้นเดียว โดยมีสายอีกเส้นหนึ่งเป็นชีลด์รอบสายที่เป็นไส้กลางไว้ ขั้วต่อ จะเป็นหัว BNC (Bayonet Naval Connector) มีตัวล็อคเมื่อเสียบกับตัวเมีย สายสัญญาณแบบนี้จะเป็นมีเส้นผ่าศูนย์กลางและความแข็งมากกว่าสาย AV

ภาพที่  ๑๔ ข้อต่อแบบบีเอ็นซี (BNC connector)

(www.hyperlinktech.com, http://www.computerworld.com, Stuart Dollin. 1992 : 21)

๗)   ข้อต่อแบบสิบพิน (10 Pin connector-cable) เป็นสายสัญญาณข้อต่อที่ใช้ต่อระหว่างกล้องวีดิโอกับเครื่องบันทึกเทปวีดิโอ  โดยจะมีสายสัญญาณภาพ สายสัญญาณเสียง และสายควบคุมระยะไกล สายควบคุมการบันทึก รวมถึงสายดินด้วย

ภาพที่ ๑๕  ข้อต่อแบบสิบพิน (10 Pin)

(www.connector.telecomnet.com, twStuart Dollin. 1992 : 21)

เอกสารอ้างอิง

Bcoms.net (มปป.). เลือกเซนเซอร์รับภาพของกล้องดิจิตอล CCD หรือ CMOS? [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.bcoms.net/tipcomputer/detail.asp?id=710 (วันที่ค้นข้อมูล : ๔  กรกฎาคม  2554).

Leave a comment